โพรไบโอติกคืออะไร?

ความหมายของโพรไบโอติก
โพรไบโอติกเป็นคำที่ใช้บ่อยโดยทั่วไปในสถาบันศึกษาและวิจัยทางด้านอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ยุโรปและญี่ปุ่น แต่ไม่กี่สิบปีนี้เองที่มีการกล่าวถึงกันทั่วโลกโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ,กลุ่มผู้ที่ชอบทานอาหารเพื่อสุขภาพและบุคคลทั่วไป
ในอดีตคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าแบคทีเรียทั้งหมดเป็นแบคทีเรียที่เกิดโทษเป็นอันตรายและก่อให้เกิดโรคต่างๆได้ ซึ่งจริงๆแล้วมีแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น ลิสธีเรีย ( listeria ), คลอสทริเดียม ( Clostridium ) และ ซาลโมเนลลา ( Salmonella ) ซึ่งพบอยู่มากทั่วไป อย่างไรก็ตามยังมีแบคทีเรียหลายชนิดที่เป็นชนิด “ดี” ที่อาจจะช่วยส่งเสริมสุขภาพของเราผู้บริโภคให้ดีขึ้นได้ แบคทีเรียที่มีประโยชน์ส่วนใหญ่แล้วเป็นแบคทีเรียกลุ่มผลิตกรดแล็กติก ได้แก่ แล็กโทบาซิลลัส ( lactobacillus ) และ บิฟิโดแบคทีเรียม ( Bifidobacterium )
รากศัพท์ของคำว่า “โพรไบโอติก” ( Probiotic ) คำว่า “pro” มาจากภาษาลาติน และคำว่า “bios” มาจากภาษากรีก ซึ่งมีความหมายรวมกันว่า “สำหรับชีวิต” หรือ “ส่งเสริมชีวิต” คำจำกัดความของโพรไบโอติกมีวิวัฒนาการขึ้นจนกระทั่งมีการยอมรับในระดับสากลโดยองค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของโพรไบโอติก คือ “จุลินทรีย์มีชีวิต” เมื่อบริโภคในปริมาณที่เพียงพอจะช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เหล่านี้อาจประกอบไปด้วยแบคทีเรียหลายชนิด หรือหลายสายพันธุ์อาจจะรวมไปถึงยีสต์บางชนิดที่ไม่ใช่อยู่ในกลุ่มที่ไม่สนับสนุนสุขภาพหรือเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรค
โพรไบโอติกในอาหาร
จากคำจำกัดความของโพรไบโอติก จะทำให้เราเข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจเพิ่มขึ้นคือการใช้โพรไบโอติกเติมลงในอาหาร หลายปีมานี้ที่โพรไบโอติกได้รับความสนใจและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพของตนเองเพิ่มขึ้น และใส่ใจในการเลือกอาหารที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพให้ดีได้อย่างไร
คุณสามารถที่จะหาอาหารที่มีโพรไบโอติกได้หลากหลายเมนู เช่น ซุปมิโซะญี่ปุ่น, ขนมปังเปรี้ยว ( sourdough bread ) และช็อคโกแล็ตบางชนิด เป็นต้น อย่างไรก็ตามโพรไบโอติก ส่วนมากจะมีอยู่ในผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวรวมไปถึงผลิตภัณฑ์นมอื่นๆได้แก่ เคเฟอร์, มันเนย,ชีสและโยเกิร์ต แต่ที่มีอยู่มากที่สุดจะเป็นผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต
การผลิตโยเกิร์ต แต่ดั้งเดิมโดยการเติมเชื้อแบคทีเรียชนิด “ดี” ลงไปในนมและเมื่อเชื้อที่มีชีวิตเจริญเติบโตทำให้เกิดการหมักขึ้นซึ่งน้ำตาลแล็กโตสที่มีอยู่ในนมจะกลายเป็นกรดแล็กติก โยเกิร์ตดั้งเดิมที่ผลิตขึ้นส่วนใหญ่จะใช้เชื้อแบคทีเรียที่ใช้ในการหมักชนิด แล็กโทบาซิลลัส บัลแกริคัส (Lactobacillus bulgaricus ) และ สเตรปโทคอคคัส เทอร์โมฟิลัส ( Streptococcus thermophiles ) ซึ่งแบคทีเรียกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ผลิตกรดแล็กติกได้ดี บัลแกริคัส ( bulgaricus ) เป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและช่วยปรับสภาวะที่เป็นกรดเล็กน้อยภายในระบบลำไส้ ซึ่งสภาวะแวดล้อมภายในลำไส้เป็นกรดอ่อนเล็กน้อยจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ชนิด “ไม่ดี” ได้
การบริโภคจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดที่มีอยู่ในโยเกิร์ต สิ่งสำคัญที่สุดคือแบคทีเรียที่ผลิตกรดแล็กติกที่มีอยู่ในโยเกิร์ตต้องมีชีวิตอยู่ ( LIVE ) และ มีประสิทธิผล ( ACTIVE ) รวมไปถึงมีปริมาณที่เพียงพอที่จะมีผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพได้
คุณสามารถหาในสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งหมดเหล่านี้ได้โดยเลือก YOLIDA
YOLIDA yogurt คือโยเกิร์ตที่อุดมด้วยแบคทีเรียชนิด “ดี” จำนวนมากมายที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพ หมายถึงมีอยู่ทั้งแบคทีเรียที่มีชีวิตอยู่ (LIVE) และมีประสิทธิผล (ACTIVE) ต่อสุขภาพของคุณให้ดีขึ้นได้
ไทย