Yolida Probio: ช่วยส่งเสริมสุขภาพเชิงป้องกัน

ตามที่ได้นำเสนอข้อมูลไปบ้างแล้วในเมนูข้อมูลความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตในเวปไซด์ของเรา ที่กล่าวถึงโยเกิร์ต Yolida ProBio อุดมไปด้วยแบคทีเรียชนิด “ดี” มีประโยชน์ต่อสุขภาพเรา โดยแบคทีเรียเหล่านี้จะช่วยกำจัดและยับยั้งแบคทีเรียชนิด “ไม่ดี” ในระบบลำไส้เราส่งผลดีต่อประสิทธิภาพของการดูดซึมอาหารโดยตรง
จากผลงานการศึกษาวิจัยต่างๆ แสดงให้เห็นถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยของคนเราส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายของเราได้รับแบคทีเรียชนิด“ไม่ดี”หรือก่อให้เกิดโทษ เชื้อโรคเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายเราจะเจริญเติบโตเป็นจำนวนมากในระบบลำไส้ของคนเราและจะก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ ในขณะเดียวกันถ้าเราได้รับแบคทีเรียมีชีวิตชนิด”ดี” มีประโยชน์เช่นเดียวกันกับชนิดที่มีอยู่ในโยเกิร์ต Yolida ProBio จะช่วยควบคุมแบคทีเรียชนิด ”ไม่ดี” และป้องกันแบคทีเรียก่อโรคเหล่านี้กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคต่างๆได้ หรือสามารถกล่าวได้ว่าการที่ร่างกายได้รับแบคทีเรียชนิด “ดี” เข้าไปในร่างกายจะช่วยส่งเสริมสุขภาพปรับสภาวะให้เกิดความสมดุลย์ในระบบทางเดินอาหารได้

คุณสมบัติพิเศษของ Yolida ProBio ช่วยส่งเสริมสุขภาพเชิงป้องกัน

โยเกิร์ต Yolida ProBio ประกอบไปด้วยแบคทีเรียโพรไบโอติกทั้งหมด 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Lactobacillus acidophilus, bifidobacterium และ Lactobacillus paracasei ทั้งหมดนี้เป็นแบคทีเรียชนิด”ดี” มีประโยชน์ต่อสุขภาพซึ่งมีคุณลักษณะประโยชน์ขึ้นอยู่กับแบคทีเรียชนิดนั้นๆหรือหลายชนิดรวมอยู่ด้วยกัน สอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัยต่างๆในอดีตจนถึงปัจจุบันที่ระบุถึงผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมนุษย์จากการได้รับแบคทีเรียชนิดดังกล่าวนี้
พวกเรา Sunrise Dairy อยากจะแชร์ข้อมูลความรู้ต่างๆจากผลงานศึกษาวิจัยต่างๆ ที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ

รายงานการศึกษาวิจัย กระตุ้นให้ปริมาณแบคทีเรียชนิด“ดี” มีจำนวนเพิ่มขึ้น

จากรายงานผลการศึกษาวิจัยทั้งสองเรื่อง (Matto et al. 2006, and Alander 2001) โดยออกแบบการศึกษาในคนที่อยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่บริโภคอาหารที่มีแบคทีเรียโพรไบโอติกชนิดเดียวกันกับที่มีอยู่ใน Yolida ProBio เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ทำการสังเกตโดยการทดสอบปริมาณเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแบคทีเรียชนิด “ดี” และชนิด “ไม่ดี” ในระบบลำไส้ จากผลของงานวิจัยทั้งคู่พบว่าปริมาณเชื้อแบคทีเรียชนิด “ดี” ชนิด Bifidobacteria และ Lactobacilli ในอุจจาระหลังการขับถ่ายเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันการเจริญของแบคทีเรียชนิด “ไม่ดี” ได้แก่ coliform, clostridia, enterobacteriacea, enterococci หรือ perfringen มีการหยุดการเจริญเติบโตหรือไม่เพิ่มจำนวน
จากผลการทดลอง โดยทดสอบในประชากรกลุ่มอาสาที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ได้รับโดยการบริโภคแบคทีเรียชนิดโพรไบโอติกเช่นเดียวกันกับชนิดที่มีอยู่ใน Yolida ProBio โดยทดสอบการเหลือรอดของแบคทีเรียที่มีชีวิตอยู่ในระบบทางเดินอาหารจนถึงลำไส้ (Savard et al ) ผลของการศึกษาหัวข้อนี้พบว่าเมื่อผู้ทดสอบได้รับแบคทีเรียชนิดดังกล่าวเข้าไปสามารถตรวจพบแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่และหลงเหลืออยู่จำนวนมากในอุจจาระซึ่งถูกขับถ่ายออกมาแสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียโพรไบโอติก สามารถมีชีวิตอยู่รอดตลอดช่วงต่างๆของระบบย่อยอาหาร,ระบบลำไส้จนถึงระบบขับถ่ายได้รวมถึงพบว่าจำนวนของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์มีปริมาณเพิ่มขึ้นและแบคทีเรียในกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆมีปริมาณที่ลดลง
จะเห็นได้ว่าจากผลการศึกษาในหัวข้อต่างๆเหล่านี้พิสูจน์ได้ว่าการได้รับโดยการบริโภคแบคทีเรียโพรไบโอติกชนิดเดียวกันกับกลุ่มที่มีอยู่ในโยเกิร์ต Yolida ProBio สามารถช่วยเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์และในขณะเดียวกันช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ไม่ดีบางชนิดในระบบทางเดินอาหารได้ จากความเชื่อที่ว่าสภาวะแวดล้อมในระบบลำไส้ของเราที่ดีจะช่วยปกป้องการทำงานและช่วยส่งเสริมสภาวะระบบทางเดินอาหารที่ดีส่งผลไม่ทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆได้

ช่วยระบบขับถ่ายและลดอาการท้องผูก

เริ่มต้นของกระบวนการย่อยอาหารเมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไปในปาก อาหารจะถูกทำให้มีขนาดเล็กลงโดยการเคี้ยวด้วยฟัน หลังจากนั้นเอ็นไซม์และกรดน้ำย่อยในกระเพาะอาหารจะย่อยให้มีขนาดเล็กลงอีกลำดับ อาหารถูกส่งผ่านไปยังลำไส้เล็กซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่มีหน้าที่ย่อยได้สารอาหารที่สำคัญได้แก่โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต และไขมันให้มีขนาดเล็กลงทำให้โมเลกุลของสารอาหารที่สำคัญถูกดูดซึมโดยผนังลำไส้เล็กไปใช้ประโยชน์ตามส่วนต่างๆของร่างกายเรา กากของเสียที่หลงเหลือจากการย่อยและการดูดซึมจะถูกส่งผ่านไปยังลำไส้ใหญ่และรวมกันเป็นก้อนที่ลำไส้ใหญ่และถูกบีบตัวขับถ่ายออกมาเป็นอุจจาระ โดยปกติจะมีช่วงเวลาขับถ่ายแต่ละครั้งทุกๆ 24 ถึง 48 ชั่วโมง
โดยทั่วไปสุขภาพการขับถ่ายของคนเราขึ้นอยู่กับลักษณะของอุจจาระและช่วงระยะเวลาการขับถ่าย ปกติแล้วลักษณะความเหนียวข้นของอุจจาระจะมีความสำคัญบ่งบอกถึงระบบการย่อยอาหารของคนเรา ซึ่งส่งผลไปถึงการดูดซึมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ด้วยเช่นกัน ความสมดุลย์ของสุขภาพในระบบต่างๆเหล่านี้เกิดจากปริมาณแบคทีเรียชนิด ”ดี” และ “ไม่ดี” ที่มีอยู่ในระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งรวมถึงการดูแลรักษาสุขภาพภายในของระบบลำไส้อีกด้วย อย่างไรก็ตามผู้คนส่วนใหญ่ในวัยทำงานบ่อยครั้งมีภาวะระบบขับถ่ายไม่เป็นปกติ ระยะเวลาแต่ละครั้งไม่ปกติหรือขับถ่ายได้ยาก อาจเกิดภาวะท้องผูกหรืออุจจาระมีลักษณะแข็งเกินไป หรือเกิดภาวะท้องเสียที่มีอุจจาระเหลวมีน้ำปนอยู่มาก ซึ่งมีหลากหลายกรณีที่แตกต่างกัน สาเหตุสำคัญเกิดจาก พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีกากใยปริมาณต่ำ, ไม่ออกกำลังกาย, ความเครียด, ผลกระทบจากการรับประทานยาปฏิชีวนะ ซึ่งทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุสำคัญที่มีผลต่อสภาวะระบบขับถ่ายผิดปกติทั้งนั้น
จากงานศึกษาวิจัย หนึ่งในนั้นได้มีผลการศึกษาในสถานบ้านพักคนชรา (Pitkala et al.), ศึกษาในกลุ่มประชากรผู้สูงวัยเพศหญิง ( Nishida et al.) และอีกงานศึกษาวิจัยในกลุ่มประชากรผู้สูงวัยทั้งเพศชายและเพศหญิง ( Matsumoto et al.) จากผลงานศึกษาวิจัยเหล่านี้ระบุถึงผลของการบริโภคอาหารที่มีแบคทีเรียโพรไบโอติกชนิดเดียวกันกับที่มีอยู่ในโยเกิร์ต Yolida ProBio มีผลช่วยส่งเสริมหน้าที่ของระบบขับถ่ายได้ดีขึ้น และลักษณะของก้อนอุจจาระไม่แข็งและไม่เหลวเกินไปและมีผลอย่างยิ่งคือลดอาการท้องผูกได้ดี
ข้อมูลทางการแพทย์ที่สนับสนุนเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติช่วยลดอาการท้องผูกจากสถาบันที่น่าเชื่อถือในประเทศไทย ผลงานการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับโรงพยาบาลศิริราช ( Ratikorn et al ) ได้มีการสุ่มทดสอบกลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 21 – 55 ปี จำนวน 50 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง จากผลการทดสอบพบว่าหลังจากผู้ทดสอบได้รับโดยการบริโภคโยเกิร์ตที่มีแบคทีเรียชนิดเดียวกันกับที่มีอยู่ในโยเกิร์ต Yolida ProBio ติดต่อกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่ามีผลช่วยให้ทั้งความถี่หรือระยะเวลาการขับถ่ายเป็นปกติอีกทั้งคุณภาพหรือลักษณะของอุจจาระมีลักษณะที่ดีด้วย

ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องเสีย

เริ่มต้นของกระบวนการย่อยอาหารเมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไปในปาก อาหารจะถูกทำให้มีขนาดเล็กลงโดยการเคี้ยวด้วยฟัน หลังจากนั้นเอ็นไซม์และกรดน้ำย่อยในกระเพาะอาหารจะย่อยให้มีขนาดเล็กลงอีกลำดับ อาหารถูกส่งผ่านไปยังลำไส้เล็กซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่มีหน้าที่ย่อยได้สารอาหารที่สำคัญได้แก่โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต และไขมันให้มีขนาดเล็กลงทำให้โมเลกุลของสารอาหารที่สำคัญถูกดูดซึมโดยผนังลำไส้เล็กไปใช้ประโยชน์ตามส่วนต่างๆของร่างกายเรา กากของเสียที่หลงเหลือจากการย่อยและการดูดซึมจะถูกส่งผ่านไปยังลำไส้ใหญ่และรวมกันเป็นก้อนที่ลำไส้ใหญ่และถูกบีบตัวขับถ่ายออกมาเป็นอุจจาระ โดยปกติจะมีช่วงเวลาขับถ่ายแต่ละครั้งทุกๆ 24 ถึง 48 ชั่วโมง
ภาวะท้องเสียรุนแรงเป็นผลที่ไม่ดีต่อสุขภาพสาเหตุเกิดจากการสูญเสียน้ำในร่างกายปริมาณมากกว่า 3 ส่วนในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเกิดภายในวันเดียวหรืออาจจะเกิดนานหลายวันจนถึง 2 สัปดาห์ โดยทั่วไปสาเหตุหลักเกิดจากลำไส้เกิดการติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อไวรัส, แบคทีเรียหรือปรสิตบางชนิด ผลจะทำให้ร่างกายเกิดการสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วและระบบการย่อยอาหารลดต่ำลงซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อร่างกายไม่สามารถดูดซึมอาหารที่จำเป็นที่ร่างกายต้องการได้รับในแต่ละวัน ที่สำคัญคือจะส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลียไม่สบาย มีอาการปวดท้องรวมอยู่ด้วย อีกทั้งถ่ายอุจจาระมีลักษณะเหลวเป็นน้ำและจะเข้าห้องน้ำบ่อยๆหลายครั้งในช่วงเวลาที่มีอาการ
สำหรับวัยทารกแรกเกิดหรือเด็กเล็กอาการท้องเสียส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า “โรต้าไวรัส ( Rotavirus )” จะทำให้เด็กมีอาการเจ็บป่วยหรืออาจจะรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบมากในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ( World Health Organization , April 2013 ) ส่วนในวัยผู้ใหญ่อาการท้องเสียส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อ “โนโรไวรัส ( Norovirus )” ส่วนเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่โดยทั่วไปที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการอักเสบและติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารจะเป็นแบคทีเรียชนิด แคมพิโลแบคเตอร์( campylobacter), ซาลโมเนลลา( salmonella), เอชเชอริเชีย โคไล(Escherichia coli ) และ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร(helicobacter pylori )
สำหรับผู้สูงวัยหรือวัยชราโดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำจะทำให้ร่างกายมีภาวะที่ง่ายต่อการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด คลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล์ (Clostridium difficile ) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เจริญได้ดีหลังการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียในผู้สูงอายุได้
จากงานศึกษาวิจัยทางการแพทย์ในหัวข้อต่างๆและเป็นที่ยอมรับได้แสดงให้เห็นถึงผลดีของการได้รับโดยการบริโภคแบคทีเรียโพรไบโอติกโดยเฉพาะแบคทีเรีย บิฟิโดแบคทีเรียม(bifidobacterium), แล็กโทบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส( lactobacillus acidophilus) และ แล็กโทบาซิลลัส พาราคาเซอิ(lactobacillus paracasei) แบคทีเรียทั้งสามชนิดนี้เป็นแบคทีเรียชนิด “ดี” มีประโยชน์ซึ่งทั้งหมดนี้ผสมรวมอยู่ด้วยกันในโยเกิร์ต Yolida ProBio มีคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพระบบทางเดินอาหาร,ระบบย่อยรวมไปถึงระบบลำไส้หรือการดูดซึมสารอาหารและที่สำคัญช่วยลดสภาวะที่ทำให้เกิดท้องเสียได้ ทั้งนี้มีผลสรุปจากงานศึกษาวิจัยจากนักวิชาการต่างๆถึงผลที่เป็นประโยชน์จากแบคทีเรียโพรไบโอติกชนิดดังกล่าวโดยการศึกษาผู้ที่มีอายุในช่วงต่างๆตั้งแต่ผู้ที่อยู่ในวัยทารกหรือวัยเด็กจนถึงวัยชราหรือผู้สูงวัย ( Wang, et al; Bhalla; Sheu et al; and de Vress et al).
จากผลการศึกษาที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ สามารถสรุปได้ว่าแบคทีเรียโพรไบโอติกที่มีชีวิตอยู่และมีปริมาณเพียงพอเช่นเดียวกันกับชนิดที่มีอยู่ในโยเกิร์ต Yolida ProBio มีผลสามารถที่จะยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ไม่ดีได้หลายชนิดทั้งไวรัสและแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียในคนเรา

ช่วยเสริมสภาวะระบบภูมิคุ้มกัน

ถึงแม้ว่าการทำงานหรือหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันต่างๆภายในร่างกายมนุษย์เป็นสิ่งหนึ่งที่ยากต่อการทำความเข้าใจ อย่างไรก็ตามเราเข้าใจดีว่าหน้าที่หลักของระบบภูมิคุ้มกันคือร่างกายสร้างสารคุ้มกันเรียกว่า “แอนติบอดี้(antibodies) เพื่อที่จะสู้หรือกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเช่นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดีบางชนิด โดยทั่วไปปกติการฉีดวัคซีนซึ่งเป็นสารสกัดจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะช่วยให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ช่วยต่อต้านเชื้อโรคต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายเราได้
ผลการศึกษาวิจัยของนักวิชาการ( Rizzadini et al) ศึกษาในตัวอย่างประชากรจำนวน 115 คน วัตถุประสงค์เพื่อทดสอบคุณสมบัติของโพรไบโอติก ชนิดเดียวกันกับที่มีอยู่ในโยเกิร์ต Yolida ProBio ( บิฟิโดแบคทีเรียม และ แล็กโทบาซิลลัส พาราคาเซอิ ) มีปฏิกิริยาต่อระบบภูมิคุ้มกันในมนุษย์ที่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้ จากสรุปผลการทดลองพบว่าผู้ที่ได้รับแบคทีเรียโพรไบโอติกเข้าไปในร่างกายจะเหมือนกับเราได้รับวัคซีนธรรมชาติที่ไม่มีผลข้างเคียงและช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายเราจะมีผลทำให้ส่งเสริมให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆตัวอย่างเช่นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่
ผลการศึกษาทางการแพทย์ในผู้สูงอายุ ( Wang. et al ) ได้ทดสอบตัวอย่างประชากรโดยบริโภคอาหารที่มีแบคทีเรียโพรไบโอติกซึ่งเป็นชนิดเดียวกันและมีอยู่จำนวนมากในโยเกิร์ต Yolida ProBio ต่อเนื่องเป็นประจำจะมีผลต่อการยับยั้งเชื้อโรคชนิด เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ( helicobacter polori) ในตัวอย่างผู้ที่ติดเชื้อดังกล่าว อีกทั้งยังมีอีกงานศึกษาวิจัยที่ได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่กำลังศึกษาในวิทยาลัยแห่งหนึ่งโดยให้บริโภคอาหารที่มีแบคทีเรีย โพรไบโอติกเพียงชนิดเดียวหรือมากกว่า เพื่อเชื่อมโยงไปถึงการลดลงของจำนวนนักศึกษาที่ต้องขาดเรียนในแต่ละวันเนื่องจากเป็นไข้หวัด ( Smith, et al ) รวมถึงผลของการศึกษาที่มีผลทำให้อาการของโรคภูมิแพ้ในวัยเด็กลดลง ( Taipale, et al; and Rautava, et al )
จากผลของงานศึกษาต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าการบริโภคอาหารที่มีแบคทีเรียโพรไบโอติกชนิดเดียวกันกับที่มีอยู่ในโยเกิร์ต Yolida ProBio เป็นส่วนประกอบและบริโภคอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อระบบกระเพาะอาหารและลำใส้ เชื้อแบคทีเรียประเภทที่ดี ที่มีจำนวนมากใน โยเกิร์ตโยลิดา มีผลต่อการกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ช่วยในการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดี ที่เป็นอันตรายอันจะก่อให้เกิดโรคร้ายต่างๆเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งประเภทอื่นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายมีความแข็งแรง ให้สามารถต้านทานต่อการติดเชื้อโรคต่างๆได้ โดยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราให้ดีเพิ่มขึ้นนั่นเอง.
อ้างอิง (References)

Alander M. International Dairy Journal, 2001; 11:817-825.
Bhalla A. ACCP, 2011.
Chouraqui JP et al. Journal of Pediatric Gastroenterol Nutrition, 2004; 38:288-292.
De Vrese M, et al. Journal of Dairy Research, 2011; 78:396-403.
Matsumoto et al. Intestine Microbiology Magazine, 2001; 14:97-102.
Matto J, et al. International Dairy Journal, 2006; 16:1174-1180.
Nishida, S. et al. Milk Science, 2004; 53:71-80.
Pitkala K.H. et al. Jounal of Nutrition Health and Aging, 2007; 11:305-311.
Raitikorn S. et al. Siriraj Medical Journal, 2012; 64:105-109.
Rautava S, et al. British Journal of Nutrition, 2009; 101; 1722-1726.
Rizzardini G. et al. British Journal of Nutrition, 2012; 107:876-884.
Saavedra JM, et al. Lancet1994; 344:1046-1049.
Savard, et al. International Journal of Food Microbiology, 2011; 149 (1) 50-57.
Sheu BS et al. Alimentary Pharmacology & Therapeutics, 2002; 16:1669-1675.
Smith TJ, et al, British Journal of Nutrition, 2012: 1-9.
Taipale T, et al, British Journal of Nutrition, 2011; 105:409-416.
Wang K-Y et al. American Journal of Clinical Nutrition, 2004; 80:737-741.
ไทย